หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

ห่วงอากาศร้อน 'เด็ก-คนแก่-ผู้มีโรคประจำตัว' เสี่ยงเจ็บป่วยฉุกเฉิน

ห่วงอากาศร้อน 'เด็ก-คนแก่-ผู้มีโรคประจำตัว' เสี่ยงเจ็บป่วยฉุกเฉิน




หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ



หวั่นอากาศร้อน 'เด็ก-คนแก่-ผู้มีโรคประจำตัว' เสี่ยงเจ็บป่วยฉุกเฉิน

 

          สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ห่วงอากาศร้อน กระทบเด็กเล็ก-ผู้สูงอายุ-ผู้มีโรคประจำตัว เสี่ยงเกิดภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน เปิดสายด่วน 1669 ให้ความช่วยเหลือ...
          เมื่อวันที่ 20 มี.ค. นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ขณะนี้สภาพอากาศในหลายภูมิภาคค่อนข้างร้อนอบอ้าว ดังนั้นจึงเป็นห่วงอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่สืบเนื่องจากความร้อน คือปกติร่างกายคนเรามีอุณหภูมิประมาณ 36 - 37 องศาเซลเซียส ถ้าอากาศร้อนมากจนร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ไม่ถึง 40 องศาเซลเซียส อาจเกิดอาการเพลียแดดได้ แต่หากอุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส อาจก่อให้เกิดอันตราย และเกิดอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินอย่างฉับพลันได้ เช่น โรคลมแดด หรือเริ่มมีอาการทางสมอง เช่น ซึม สับสน ชักเกร็งหรือหมดสติ หรือมีอัตราการหายใจและชีพจรไม่สม่ำเสมอคือ ชีพจรเต้นเร็วกว่า 140 ครั้งต่อนาที มีความดันโลหิตสูง
          ทั้งนี้ ผู้ที่พบเห็นผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าว หรือพบว่ามีอาการน่าสงสัยว่าจะมีภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินให้รีบโทรแจ้งที่สายด่วนเจ็บป่วยฉุกเฉินโทร 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือและให้ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด โดยเบื้องต้นให้นำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่อากาศร้อน ไปในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท และตรวจดูการหายใจ คือต้องดูให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรค้างอยู่ในปาก-จมูกหรือไม่ จัดศีรษะให้เงยขึ้น โดยมือหนึ่งจับที่หน้าผาก และอีกมือหนึ่งชันคางขึ้นจะทำให้ช่องทางเดินหายใจเปิด และหากเกรงว่าจะมีอาการสำลักให้ผู้ป่วยนอนในตะแคงกึ่งคว่ำ งอสะโพก งอเข่าพอสมควร แต่ถ้าผู้ป่วยหมดสติและอาเจียน ให้จับศีรษะผู้ป่วยหันไปด้านข้าง เพื่อลดการสำลัก
          นพ.ชาตรี กล่าวต่อว่า ภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินจากสภาพอากาศร้อน เกิดได้กับทุกคนที่ถูกแดดจัดหรืออยู่ในที่ๆ ร้อนจัดเป็นเวลานาน แต่ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้ง่ายขึ้นได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว อาทิ โรคหัวใจ โรคปอด โรคทางสมอง เป็นต้น ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นระยะเวลานาน และควรดื่มน้ำบ่อยๆ หรือหาผ้าชุบน้ำประคบเพื่อลดความร้อนของร่างกาย.



หนังสือพิมพ์มติชน




สำนักข่าวไทย




ASTVผู้จัดการออนไลน์ 


สพฉ.ห่วงอากาศร้อนกระทบเด็ก-คนแก่เจ็บป่วยฉุกเฉิน

       นายแพทย์ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า สภาพอากาศในหลายภูมิภาค ค่อนข้างร้อนอบอ้าว ขณะนี้ จึงเป็นห่วงอากาศเจ็บป่วยฉุกเฉินที่สืบเนื่องจากความร้อน คือ ปกติร่างกายคนมีอุณหภูมิประมาณ 36-37 องศาเซลเซียส ถ้าอากาศร้อนมากจนร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ไม่ถึง 40 องศาเซลเซียส อาจเกิดอาการเพลียแดด แต่หากอุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส อาจก่อให้เกิดอันตราย และเกิดอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินฉับพลันได้ เช่น โรคลมแดด หรือเริ่มมีอาการทางสมอง เช่น ซึม สับสน ชักเกร็ง หมดสติ หรือมีอัตราการหายใจ และชีพจรไม่สม่ำเสมอ เต้นเร็วกว่า 140 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิตสูง หากพบเห็นผู้ป่วยอาการดังกล่าว หรือพบว่ามีอาการน่าสงสัยว่าจะมีภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน ให้รีบโทรแจ้งที่สายด่วน เจ็บป่วยฉุกเฉิน 1669






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น