หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555


จับตารอยเลื่อนศรีสวัสดิ์-แม่เมาะ "ดร.พิจิตต"เตือนอีก พบ2-3เดือนผ่านมา เคลื่อนไหวผิดปกติ 


หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (กรอบบ่าย)
ฉบับวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555



          “พิจิตต” เตือนจับตา 13 รอยเลื่อนในไทย พบรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์-รอยเลื่อนแม่เมาะ เคลื่อนไหวผิดปกติส่งผลกระทบเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี ชี้ไทยต้องพร้อมรับมือภัยพิบัติหลายรูปแบบ ลมจะแรงขึ้น ภาคใต้อาจจะเจอพายุที่รุนแรงเหมือน “พายุเกย์” เพราะการเปลี่ยนผ่านของมรสุมจาก “ฟิลิปปินส์” ส่วนภาคกลางจะเกิดการยุบตัวของพื้นดินกลายเป็นแอ่งลึก

            ที่โรงแรมแกรนด์สุนีย์แกรนด์ จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 7 มี.ค. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จัดการประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับ ชาติ ครั้งที่ 6 ภายใต้หัวข้อ “การแพทย์ฉุกเฉินไทย ฝ่าภัยพิบัติ 2012” ภายในงานมีการปาฐกถาพิเศษ เรื่องความเสี่ยง โอกาส และความท้าทาย ในการจัด การภัยพิบัติของโลกและไทย โดย ดร.พิจิตต รัตต-กุล คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน(กพฉ.) และผอ.บริหารศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) กล่าวว่า ในวันข้างหน้าจะมีภัยพิบัติเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้น สถาบันการ-แพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จะต้องเตรียมความ พร้อมให้สูงขึ้น เพราะเราคงไม่สามารถหยุดยั้งภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นได้ แต่สามารถยับยั้งความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยมีหลายรูปแบบ ทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ที่ส่งผลให้เกิดปริมาณฝนที่หนาแน่น ฝนจะตกมากขึ้น น้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้น ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ จนเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง อย่างรุนแรงและมหาศาล การยุบตัวของดินจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ และขยายเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะในส่วนของ ภาคกลาง พื้นแผ่นดินจะกลายเป็นแอ่งลึกลงไป ทางภาคใต้ต้องเตรียมรับมือกับพายุที่มีความรุนแรงเหมือน พายุเกย์ เพราะการเปลี่ยนผ่านของมรสุมจากประเทศฟิลิปปินส์ที่เปลี่ยนทิศทางการเดินทาง
ดร.พิจิตตกล่าวต่อไปว่า เราต้องเตรียมพร้อมรับมือ อาทิ เรื่องปัญหาอาคารทรุด หน่วยแพทย์ฉุกเฉินจะต้องรู้ว่าจะต้องเตรียมเครื่องมือในการค้นหา อย่างไร ส่วนความเสี่ยงเรื่องภัยพิบัติของประเทศไทยคือ 1.รูปแบบของลมที่จะรุนแรงขึ้น 2.รูปแบบของฝนที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 30 ปริมาณที่มากขึ้นนี้จะส่งผลให้เกิดการถ่ายน้ำทิ้งลงทะเล โดยไม่มีการกักเก็บก็จะส่งผลให้เกิดภัยแล้ง และ 3.สิ่งที่น่าเป็นกังวลที่สุดคือเรื่องรอยเลื่อนที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด 13 รอยเลื่อน ซึ่งรอยเลื่อนที่น่าเป็นกังวลมากที่สุด คือรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนแม่เมาะ ที่ในช่วง 2 ถึง 3 เดือน ที่ผ่านมา มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ จังหวัดที่น่าเป็นห่วงที่อยู่ในบริเวณรอยเลื่อนเหล่านี้คือจ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี ขณะที่สิ่งที่น่าเป็น กังวลอีกเรื่องคือภัยอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น ดินถล่ม จนส่งผลให้เกิดน้ำหลากเข้าสู่ชุมชนและอาจจะได้เห็นน้ำป่าที่หลากเข้ามาสูง 4-5 เมตร
ดร.พิจิตตกล่าวต่อไปว่า สิ่งที่จะต้องรีบทำซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมีทั้งหมด 4 ข้อ คือ 1.สร้างภูมิคุ้มกันให้คนในสังคมเข้มแข็งในเรื่องของการประเมินความเสี่ยง แต่ละหมู่บ้านจะต้องรู้ว่าตนเองจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติอะไรบ้างและจะต้องเตรียมการอย่างไร 2. สร้างภูมิคุ้มกันในการช่วยเหลือแบบโต้ตอบเพราะที่ผ่านมาเมื่อเกิดภัยพิบัติ เราไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที จะต้องมีการสร้างชุมชนให้เป็นฐาน สร้างระบบการประสานงานให้เกิดขึ้นโดยเฉพาะเรื่องไฟฟ้า ว่าส่วนไหนควรมีหรือไม่มี 3. สร้างองค์ความรู้ในระบบเตือนภัย ให้เกิดขึ้นกับชุมชนท้องถิ่น ฝึกให้ชาวบ้านคาดการณ์ พยากรณ์อากาศได้ นอกจากนี้ ระบบเตือนภัยก็จะต้องทำให้มีการเข้าถึงอย่างรวดเร็วแม่นยำ เพื่อทำให้ การเตรียมการป้องกันภัยพิบัติเกิดขึ้นอย่างทันท่วงที 4. จะต้องรักษาถนนในการคมนาคมหลักไว้ให้ได้ เพราะเมื่อถนนขาดก็จะไม่สามารถช่วยเหลือใครได้

-------------------------------------------------------------


ดร.พิจิตต ห่วง 13 รอยเลื่อนแผ่นดินไหว


หนังสือพิมพ์ข่าวสด
ฉบับวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

                  ที่โรงแรมสุนีย์แกรนด์ จ.อุบลราชธานี นายพิจิตต รัตตกุล ในฐานะคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) และผู้อำนวยการบริหารศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) กล่าวในประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติครั้งที่ 6 มีความตอนหนึ่งว่า เมื่อดูจากสถานการณ์ภัยพิบัติทั่วโลกเชื่อว่าความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจะยิ่งสูงขึ้น สิ่งที่น่าเป็นกังวลที่สุดคือเรื่องรอยเลื่อนที่มีอยู่ในประเทศไทย ทั้งหมด 13 รอยเลื่อนรอยเลื่อนที่น่าเป็นกังวลมากที่สุดคือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และรอยเลื่อนแม่เมาะที่ในช่วง 2 ถึง 3 เดือนที่ผ่านมีการเคลื่อนไหวผิดปกติโดย จว.ที่น่าเป็นห่วงที่อยู่ในบริเวณรอยเลื่อนเหล่านี้คือเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี
นายพิจิตตกล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นกังวลอีกเรื่องคือ ภัยอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น ดินถล่ม จนส่งผลให้เกิดน้ำหลากเข้าสู่ชุมชนและอาจจะได้เห็นน้ำป่าที่หลากเข้ามาสูง 4-5 เมตร หรือปัญหาเรื่องวินด์เสิร์จ(windsurge) ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นจากลม ซึ่งประสานความรุนแรงกับการกัดเซาะชายฝั่งจากน้ำ จะส่งผลความเสียหายให้เกิดขึ้นกับพื้นที่ชายฝั่งเป็นจำนวนมาก และปัญหาของโรคอุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นตามมากับปัญหาเหล่านี้ด้วย เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ปริมาณฝนที่หนาแน่น น้ำทะเลจะหนุนสูง เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ จะเกิดปัญหาการกัดเซาะ การยุบตัวของดิน โดยเฉพาะภาคกลาง สิ่งที่ต้องทำ คือ1.สร้างภูมิคุ้มกันให้คนในสังคม ประเมินความเสี่ยงเตรียมตัวได้ 2.สร้างระบบการช่วยเหลือโดยประสานระบบต่างๆ ที่มีอยู่ ซึ่งที่ผ่านมาเกิดปัญหาในเรื่องการประสานงานมาก3.ต้องสร้างองค์ความรู้ในระบบเตือนภัยให้เกิดขึ้นกับชุมชนท้องถิ่น และ 4.รักษาการคมนาคมไว้เพื่อการลำเลียงความช่วยเหลือ

                                      ------------------------------------------------------------- 





ห่วง13รอยเลื่อนในประเทศไทย 

หนังสือพิมพ์มติชน (กรอบบ่าย) 
ฉบับวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555
อ่านเพิ่มเติม ๅ

           เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ที่โรงแรมแกรนด์สุนีย์แกรนด์ จ.อุบลราชธานี สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จัดการประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ครั้งที่ 6 ขึ้นภายใต้หัวข้อ "การแพทย์ฉุกเฉินไทย ฝ่าภัยพิบัติ 2012" มีการปาฐกถาพิเศษเรื่องความเสี่ยง โอกาส และความท้าทาย ในการจัดการภัยพิบัติของโลกและไทย โดยนายพิจิตตรัตตกุล คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) และผู้อำนวยการบริหารศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย(ADPC) เข้าร่วมเป็นองค์ปาฐก
นายพิจิตตกล่าวว่า ภัยพิบัติเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้น สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จะต้องเตรียมความพร้อมให้สูงขึ้น เพราะหากเทียบเคียงสถิติการเกิดภัยพิบัติระหว่างซีกโลกตะวันตกกับซีกโลกตะวันออกอย่างเอเชียจะมีความรุนแรงแตกต่างกันมาก เช่น ความเร็วของพายุ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง ทำลายความเสียหายให้กับซีกโลกตะวันตกได้เพียงนิดเดียว แต่หากเคลื่อนย้ายมาทางซีกโลกตะวันออกแล้ว ความเสียหายมีจำนวนมากขึ้นถึงร้อยละ 84 เราไม่มีความรู้เรื่องการเตรียมพร้อม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกสูงขึ้นส่งผลให้เกิดปริมาณฝนหนาแน่นฝนจะตกมากขึ้น น้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้นเกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำจนเกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงและมหาศาล การยุบตัวของดินจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ และขยายเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะในส่วนของภาคกลางพื้นแผ่นดินจะกลายเป็นแอ่งลึกลงไป ภาคใต้ต้องเตรียมรับมือกับพายุมีความรุนแรงเหมือนพายุเกย์ พายุลินดา เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านของมรสุมจากประเทศฟิลิปปินส์เปลี่ยนทิศทางการเดินทาง นอกจากนั้นแล้วภาคใต้ตอนบนยังต้องเตรียมรับมือกับสตรอมเสิร์จ ภาวะแบบนี้จะลามมายังภาคกลางด้วย
นายพิจิตตกล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นกังวลที่สุดคือ เรื่องรอยเลื่อนที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด 13 รอยเลื่อน น่าเป็นกังวลมากที่สุด ได้แก่ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนแม่เมาะ ในช่วง 2 ถึง 3 เดือนที่ผ่าน เคลื่อนไหวผิดปกติ จังหวัดที่น่าเป็นห่วงอยู่ในบริเวณรอยเลื่อนเหล่านี้คือจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอนกาญจนบุรี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น